วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไม่กินผักระวัง

     กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปีละกว่า 50,000 ราย มะเร็งลำไส้ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม นอกจากนี้คนไทยยังเป็นโรคเบาหวานที่รู้ตัวแล้วถึงกว่า 3 ล้านราย ภาวะเลี่ยงที่กำลังคุกคามชีวิตคนไทยในขณะนี้ 85% เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การรับประทานอาหารไม่สมดุล โดยรับประทานอาหารที่เป็นแป้ง ไขมัน น้ำตาล และเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยเลือกกินผักน้อยลง ปัจจุบันคนไทยกินผักผลไม้เฉลี่ยวันละประมาณ 168 กรัมต่อวัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้รับประทานผักผลไม้วันละประมาณ 400 กรัม เท่ากับว่าคนไทยบริโภคผักผลไม้ประมาณ 1 ใน 3 ของที่ควรจะได้รับเท่านั้น การกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น จะได้ทั้งวิตามิน และเกลือแร่ จากผักผลไม้ ได้รับเส้นใยอาหารที่ช่วยจับไขมัน และสารพิษต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งออกไปจากร่างกาย และช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ไม่เป็นโรคท้องผูกด้วย

แก้พิษหลังกินลำไย

     ลำไยเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัด หลังรับประทานทำให้ร้อนใน ตาแฉะ เจ็บคอ เหนอะหนะอยู่ในลำคอ เพราะในลำไยมียาง กินมาก ๆ อาจระคายเคืองหลอดอาหาร กลืนอาหารไม่ลง และรู้สึกเจ็บภายในลำคอ คอบวม ซึ่งอาจเกิดมาจากการระคายคอ หรือการติดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนติดเปลือกขณะขนส่งหรือวางจำหน่ายได้ การรับประทานลำไยให้ปลอดภัยนั้น ควรล้างเปลือกด้วยน้ำสะอาดก่อน และอาจใช้ปากกันเปลือกออกได้ และวิธีที่2 อาจแกะเปลือกออก และแช่น้ำเกลือเจือจางทั้งหมด หากรู้สึกเจ็บคอหลังรับประทานลำไย สามารถแก้ไขได้โดยจิบน้ำอุ่น ๆ ชั่วโมงละ 5 ครั้ง หรือมากกว่านั้น และรับประทานอาหารเหลวอุ่น ๆ แทนเพื่อลดการระคายเคือง

เรื่องดี ๆ ของผลไม้

     กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทยมีสารต้านมะเร็งสูง ผลการวิจัย "องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน) ในผลไม้" ผลไม้ที่ทำการศึกษา 83 ชนิด พบว่า ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูง คือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะเขีอเทศราชินี มะละกอสุก กล้วยไข่ มะม่วงยายกล่ำ มะปรางหวาน แคนตาลูปเนื้อเหลือง มะยงชิด มะม่วงเขียวเสวยสุก และสัปปะรดภูเก็ต ส่วนผลไม้ที่มีสารทั้ง 3 ตัวค่อนข้างสูงคือ มะเขียเทศราชินี ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของสารอาหารที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด